Skip to content

Khon Kaen University Faculty of Medicine and Heidelberg University Join Forces in Groundbreaking Medical Research Collaboration

 

November 8, 2024 – Heidelberg, Germany

In a historic collaborative initiative, Khon Kaen University, led by the President, Assoc. Prof. Dr. Chanchai Pantongviriyakul and Ambassador Surapol Poonsawat, partnered with Heidelberg University to launch a pioneering medical research collaboration. This visit, jointly organized by the universities, is set to accelerate innovations in healthcare, addressing critical global health issues such as the impact of environmental pollution on human health, climate-driven disease patterns, and advancements in pediatric medicine. The Khon Kaen University delegation, headed by Dean, Faculty of Medicine, Assoc. Prof. Dr. Pattarapong Makarawate, embarked on a pioneering visit to Heidelberg University, Germany, to deepen ties in global medical research and innovation. Accompanied by prominent faculty members including Assoc. Prof. Dr. Sirirat Anutrakulchai, Vice Dean for Research and Innovation; Prof. Dr. Pope Kosalaraksa, Director of the Clinical Research Management Unit; Assoc. Prof. Dr. Daris Theerakulpisut, Assistant Dean for International Relations and Corporate Communications; Asst. Prof. Narongrit Kasemsap, Director of the Excellence Medical Hub; and Asst. Prof. Dr. Atibodee Meesing, Deputy Director for Quality and Risk Management at Srinagarind Hospital, the delegation engaged in strategic dialogues to foster impactful health solutions for regional and global challenges.

 

 

A Platform for Shared Innovation

The visit began with a warm reception by Dr. Christine Neumann from Heidelberg University, who introduced the team to key projects addressing urgent global health concerns. The highlighted initiatives included the PANDA (Prospective Assessment of Newborn and Child Health Development Amidst Environmental Challenges) and PANDASIA (Prospective Assessment of Newborn and Child Health Development in Asia) programs, which focus on the effects of plastic pollution and climate change on infant and child health worldwide, with particular emphasis on Asia. The programs are examining the pervasive impact of microplastics and nanoplastics, which are increasingly found in high-risk environments where vulnerable children reside. The delegation had the privilege of gaining insights from Professor Joachim Rocklöv, an expert in climate change and health, who elaborated on the rising environmental threats posed by pollutants, their long-term implications on human health, and particularly their effects on children in high-exposure areas.

Presenting Khon Kaen University’s Research Strengths

In a series of collaborative sessions, Khon Kaen University’s faculty showcased their institution’s expertise and commitment to tackling pressing health issues:

  • Dr. Pattarapong Makarawate presented groundbreaking research on Brugada syndrome, a cardiac condition disproportionately affecting Asian populations. This research explores causes and treatment options, aiming to reduce mortality rates from this condition in Thailand. Dr. Pattarapong also discussed the link between temperature variations and increased Brugada syndrome risk, citing medical evidence that warmer climates are associated with higher mortality rates in individuals with the syndrome.
  • Dr. Pope Kosalaraksa shared advancements in dengue vaccine research, a critical public health endeavor in Thailand. The development of a dengue vaccine is an urgent priority to curb the virus’s spread and reduce hospitalizations caused by dengue fever, which remains a significant health challenge in tropical regions.
  • Dr. Sirirat Anutrakulchai presented compelling research on the adverse effects of PM2.5 air pollution on chronic kidney disease. Her studies draw attention to the direct link between air pollution, heavy metal contamination, and kidney health deterioration. This area of research is vital as it addresses an emerging health threat in regions where industrialization and pollution pose serious risks.
  • Dr. Atibodee Meesing discussed infectious diseases affecting adults in Thailand, focusing on melioidosis, a bacterial infection linked to environmental exposure. He highlighted how climate change influences the incidence of melioidosis, as well as recent advancements in adult infectious disease treatment that aim to mitigate these emerging risks.

 

 

Building Partnerships in Global Health Economics

In the afternoon, the delegation met with Prof. Dr. Dr. Till Bärnighausen, Director of the Heidelberg Institute of Global Health, to discuss collaborations in public health economics and training programs for Khon Kaen University faculty and researchers. Prof. Bärnighausen emphasized the potential impact of health economics research in shaping policies and improving public health outcomes. Together, the two institutions outlined plans to develop joint research initiatives in health economics, aimed at addressing global health challenges with a focus on cost-effective and sustainable healthcare solutions.

Insights from Leading Pediatric Specialists

The delegation continued their exploration of Heidelberg University’s facilities with a tour of Heidelberg University Hospital, one of Germany’s foremost pediatric centers. The delegation was welcomed by Prof. Dr. Georg F. Hoffmann, Director of the Children’s Hospital, who led a discussion on genetic disorders and modern treatments. The visit provided an opportunity to observe the hospital’s groundbreaking work:

  • Dr. med. Steffen Syrbe, Head of Pediatrics, introduced advanced treatments for inborn errors of metabolism and genetic disorders, taking the delegation through case studies on spinal muscular atrophy treated with cutting-edge gene therapy techniques.
  • med. Navina Kuss and Tim Groteclaes, Heads of Neonatology, conducted a comprehensive tour of the neonatal care facilities, illustrating their fully integrated approach to infant care and the sophisticated technologies employed in neonatal treatments.
  • Dr. med. Matthias Gorenflo, a pediatric cardiologist, demonstrated percutaneous interventions for congenital heart defects. This minimally invasive technique allows surgeons to address heart abnormalities without the need for open-heart surgery, representing a breakthrough in pediatric cardiology.
  • Dr. med. Claus P. Schmitt, a pediatric nephrologist, provided insights into dialysis treatments for children suffering from chronic kidney failure. The facility’s comprehensive dialysis program is instrumental in improving outcomes for young patients with renal conditions.

 

A Path Forward in Collaborative Medical Research

This visit stands as a testament to Khon Kaen University’s commitment to advancing medical research through international cooperation. The collaboration between Khon Kaen University and Heidelberg University not only promises to enhance knowledge exchange but also lays the groundwork for continued partnerships in tackling pressing health issues. Assoc. Prof. Dr. Pattarapong Makarawate and Assoc. Prof. Dr. Sirirat Anutrakulchai held further discussions with Heidelberg’s faculty on potential joint research into pollution’s health impacts, including projects on detecting microplastics and nanoplastics in human systems.

By fostering these partnerships, the Faculty of Medicine at Khon Kaen University aims to create a robust global network to develop innovative and sustainable solutions to global health challenges, reinforcing its commitment to improving health outcomes both in Thailand and internationally.

 


 

การเยือนมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กของคณะผู้บริหารและนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ระดับโลก

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 รศ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และท่านทูตสุรพล เพชรวรา นำคณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก โดยความร่วมมือนี้จัดขึ้นเพื่อผลักดันนวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพระดับโลก โดยคณะผู้แทนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัย อันได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ศาสตราจารย์ นพ.ภพ โกศลารักษ์ ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก, รองศาสตราจารย์ ดร นพ.ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.อธิบดี มีสิงห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพและบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้เดินทางไปเยือนมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ระหว่างสถาบัน ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก

การเยือนครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการต้อนรับจาก Dr. Christine Neumann ผู้บริหารมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก โดยเธอได้แนะนำโครงการเด่นที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งรวมถึงโครงการ PANDA (Prospective Assessment of Newborn and Child Health Development Amidst Environmental Challenges) และ PANDASIA (Prospective Assessment of Newborn and Child Health Development in Asia) โครงการ PANDA นี้มุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบของมลภาวะจากพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพของทารกและเด็กทั่วโลก ในขณะที่โครงการ PANDASIA ให้ความสำคัญเฉพาะกับภูมิภาคเอเชียซึ่งประสบกับปัญหามลภาวะอย่างเฉพาะเจาะจง โดยเน้นถึงการปนเปื้อนของ microplastic และ nanoplastic ที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กในพื้นที่เสี่ยงสูง ในการประชุมครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก Professor Joachim Rocklöv ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ มาร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกในประเด็นผลกระทบจากมลภาวะและภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพมนุษย์ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง และผลของการปนเปื้อนของพลาสติกขนาดเล็กในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาวะ

หลังจากนั้น คณะผู้แทนจาก มข. ได้รับเชิญให้เป็นผู้นำเสนอผลงานวิจัยสำคัญของสถาบันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความประทับใจแก่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก โดยรองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Brugada syndrome ซึ่งเป็นโรคหัวใจที่พบมากในประชากรเอเชีย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคดังกล่าว เพื่อพัฒนาแนวทางที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทย นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ ยังได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและผลกระทบต่ออัตราการเกิดโรค Brugada syndrome โดยแสดงหลักฐานทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น

ในส่วนของ ศาสตราจารย์ นพ.ภพ โกศลารักษ์ ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก ได้กล่าวถึงการวิจัยด้านการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับชาติ โดยมุ่งลดการแพร่ระบาดของโรคและลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อันเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างกว้างขวาง

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ได้นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบของฝุ่นละออง PM2.5 ต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง โดยได้เน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างมลภาวะทางอากาศและการปนเปื้อนของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพของไตและการเกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญในประเทศไทยและภูมิภาคที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศ

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.อธิบดี มีสิงห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพและบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้บรรยายเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อในผู้ใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเมลิออยด์ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในสิ่งแวดล้อม และได้แสดงข้อมูลที่ชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ของโรคจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อในผู้ใหญ่ที่มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

ช่วงบ่าย คณะผู้แทนจาก มข. ได้พบกับ Prof. Dr. Till Bärnighausen ผู้อำนวยการของ Heidelberg Institute of Global Health โดยได้หารือถึงความร่วมมือด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการฝึกอบรมอาจารย์และนักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในด้านนี้ รวมถึงการวางแผนในการพัฒนาการวิจัยด้าน health economics เพื่อตอบโจทย์สุขภาพระดับสากล นอกจากนี้ คณะผู้แทนจาก มข. ยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมโรงพยาบาล Heidelberg University Hospital ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเด็กขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี โดยมีการต้อนรับจาก Prof. Dr. Georg F. Hoffmann ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็ก พร้อมนำเสนอการรักษาโรคทางพันธุกรรม

Prof. Dr. med. Steffen Syrbe หัวหน้าแผนกกุมารเวชศาสตร์ ได้แนะนำการรักษาโรคในกลุ่ม inborn error of metabolism และโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ โดยพาชมการรักษาผู้ป่วยที่มีโรค spinal muscular atrophy ซึ่งได้รับการรักษาด้วยการบำบัดด้วย gene therapy ที่ทันสมัย ขณะที่ Dr. med. Navina Kuss และ Tim Groteclaes หัวหน้าแผนกทารกแรกเกิด ได้พาคณะผู้แทนจาก มข. เยี่ยมชม facility และการรักษาทารกแรกเกิดอย่างครบวงจร

Prof. Dr. med. Matthias Gorenflo แพทย์โรคหัวใจเด็ก ได้แนะนำการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยวิธีการ percutaneous intervention ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และ Prof. Dr. med. Claus P. Schmitt กุมารแพทย์โรคไต ได้อธิบายการฟอกไตในเด็กที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง

การเยือนครั้งนี้ได้แสดงถึงความตั้งใจของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครั้งนี้ยังเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลและพัฒนานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพให้ยั่งยืนในอนาคต