On Monday, 27 January 2025, a distinguished delegation from Japan and Laos visited Khon Kaen Province to study the innovative “Lawa Model”, a community-driven approach to combating liver fluke infection and associated cancer. The delegation included representatives from Shinshu University, Nagano College of Nursing, the National University of Laos, and Champasak Province’s education and health sectors.
The delegation was led by prominent figures such as Associate Professor Sachi Tomokawa from Shinshu University, Associate Professor Takeshi Akiyama from Nagano College of Nursing, and Dr. Kongsy Chounlamany, Acting Dean of the Faculty of Education, National University of Laos. They were joined by provincial and district health and education officials from Champasak Province.
Morning Highlights
The visit began with a briefing at the Khon Kaen Primary Education Service Area Office 2 in Ban Phai District, followed by an in-depth session at Lawa Village’s Health Promoting Hospital (HPH). The hospital director warmly welcomed the delegates before Professor Banchob Sripa presented an overview of liver fluke-related health issues and the pioneering “Lawa Model”. This model integrates disease prevention, health education, animal reservoir and environmental management to tackle liver fluke infections, a significant public health concern in the region.
At Lawa School, the group observed the “Liver Fluke–Free School” program, an educational initiative aimed at fostering health awareness among young students.
Immersive Afternoon Experience
In the afternoon, the delegation visited Lawa Lake to experience the practical applications of the Lawa Model. Activities included a live demonstration by village health volunteers on integrated liver fluke control efforts and a showcase of rural northeastern lifestyles.
Highlights of the visit included:
- Traditional Fish Catching Demonstration: Local fishermen displayed their fishing techniques.
Cooking Demonstration: Delegates learned how to prepare the popular yet high-risk local dish “Koi Pla”, emphasizing safe cooking practices to prevent liver fluke infection.
- Animal Reservoir Management: Associate Professor Sirikachorn Tangkawattana from Khon Kaen University’s Faculty of Veterinary Medicine explained measures to manage animal hosts in the transmission cycle of liver flukes.
- Environmental Modifications: The group explored sustainable approaches to modifying the local environment to minimize disease risks.
A Model for Global Collaboration
The visit underscored the importance of cross-border collaboration in addressing public health challenges. Delegates praised the holistic nature of the Lawa Model, which integrates health promotion, education, and environmental sustainability. The insights gained are expected to inspire similar initiatives in Laos and beyond, fostering greater regional cooperation in public health innovation.
คณะผู้แทนจากญี่ปุ่นและลาวศึกษานวัตกรรม “Lawa Model” สู้โรคพยาธิใบไม้ตับ
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2568 คณะผู้แทนจากญี่ปุ่นและลาวได้เดินทางเยือนจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษารูปแบบนวัตกรรม “Lawa Model” ซึ่งเป็นแนวทางที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนในการต่อสู้กับโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะผู้แทนประกอบด้วย Associate Professor Sachi Tomokawa จาก Shinshu University Associate Professor Takeshi Akiyama จาก Nagano College of Nursing และ Dr. Kongsy Chounlamany รักษาการคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ของ National University of Laos พร้อมทั้งผู้บริหารองค์กรด้านสาธารณสุขและการศึกษา แขวงจำปาสัก สปป. ลาว
กิจกรรมสำคัญในช่วงเช้า
เริ่มต้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 อำเภอบ้านไผ่ ก่อนเดินทางไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านละว้า (รพ.สต.บ้านละว้า) ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เพื่อรับฟังการบรรยายเชิงลึก โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา ได้นำเสนอภาพรวมของปัญหาสุขภาพที่เกิดจาก โรคพยาธิใบไม้ตับ และแนวทางการรับมือผ่าน “Lawa Model” ซึ่งเป็นต้นแบบในการป้องกันโรค การศึกษา และการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เนื่องจากโรคพยาธิใบไม้ตับยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่
ที่โรงเรียนบ้านละว้า คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมโครงการ “โรงเรียนปลอดพยาธิใบไม้ตับ” ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อสร้างความตระหนักด้านสุขภาพให้กับนักเรียน
ประสบการณ์ที่น่าประทับใจในช่วงบ่าย
ในช่วงบ่าย คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมแก่งละว้าเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ Lawa Model โดยกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงบ่ายประกอบด้วยการสาธิตการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับเชิงบูรณาการโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และการนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเยี่ยมชมจุดสำคัญ ประกอบด้วย
การสาธิตการจับปลาตามวิธีดั้งเดิม: ชาวประมงในท้องถิ่นได้แสดงเทคนิคการจับปลาในแก่งละว้า
การสาธิตการปรุงอาหาร: คณะผู้แทนได้เรียนรู้วิธีการเตรียมอาหารท้องถิ่น “ก้อยปลา” โดยเน้นให้เห็นถึงวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากโรคพยาธิใบไม้ตับ
การจัดการแหล่งสัตว์ระบาด: รองศาสตราจารย์สิริขจร ตังควัฒนา จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อธิบายแนวทางการจัดการสัตว์เป็นพาหะของพยาธิใบไม้ตับ
การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม: คณะผู้แทนได้สำรวจแนวทางการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงจากโรค
โมเดลที่ส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก
การเยี่ยมชมครั้งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือข้ามพรมแดนในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในระดับสากล คณะผู้แทนต่างชื่นชมลักษณะการบูรณาการของ Lawa Model ซึ่งผสมผสานการส่งเสริมสุขภาพ การศึกษา และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การมาเยือนในครั้งนี้คาดว่าจะช่วยในการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค รวมไปถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาโครงการด้านนวัตกรรมทางสุขภาพในประเทศลาวและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก